TRENDS ของสถาปัตยกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมแบบที่ยั่งยืน
ในปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างมากมายและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั่วโลก ซึ่งตอนนี้เริ่มส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของผู้คน และคุณรู้มั้ยว่าอาคารต่างๆในปัจจุบันสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลกนี้ถึง 40% ต่อปีเลยทีเดียว นั่นหมายความว่าถ้าจะเปลี่ยนแปลงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่โชคดีที่ตอนนี้มีหลายเทรนด์ที่ได้รับความนิยมและได้ผลที่ดีมากในการที่จะทำให้สถาปัตยกรรมนั้นมีความยั่งยืนรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอาคารและอุตสาหกรรมการก่อสร้างดังเช่น ข้อดังต่อไปนี้
1. ความสะดวกสบายและประหยัดพลังงานที่ยั่งยืน
2. สถาปัตยกรรมแบบชีวภาพ
3. อาคารสีเขียวแบบ 3 มิติ
4. เอกสารรับรองในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
5. โครงการอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์
บทความด้านล่างนี้คือข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเพื่อเข้าใจในแนวทางของสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนมากขึ้น
1. ความสะดวกสบายและประหยัดพลังงานที่ยั่งยืน
ในช่วงการระบาดของ Covid-19 ผู้คนใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งต่าง ๆ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านที่ต้องมีอุณหภูมิที่พอดีและคุณภาพของอากาศก็กลายเป็นความกังวลของคนในบ้านมากขึ้นเมื่อคุณใช้เวลาส่วนใหญ่พักผ่อนอยู่ในบ้าน แต่แทนที่คุณจะหาทางปรับปรุงและแก้ไขให้ได้รับความสะดวกสบายอย่างเร็วที่สุด คุณลองคิดแบบแก้ไขในข้อเหล่านี้แต่ในแบบระยะยาวและกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ที่คุณสามารถเลือกได้อย่างชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากมายโดยยังคงความสะดวกสบายไว้เหมือนเดิม เช่น:
1.1 ทำฉนวนกันความร้อนภายในบ้าน
สําหรับอาคารเดิมหรือแม้กระทั่งอาคารใหม่การติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ดีมีคุณภาพเป็นอีกหนึ่งกุญแจสําคัญที่ช่วยในการประหยัดพลังงานระยะยาว แทนที่การแก้ปัญหาในระยะสั้นคือการติดเครื่องปรับอากาศในบ้านเพิ่มเพื่อเพิ่มความเย็น ซึ่งการติดฉนวนกันความร้อนนั้นยังมีข้อดีมากมายทั้งด้านป้องกันความร้อนทำให้ประหยัดค่าไฟจากการใช้แอร์ แล้วยังสามารถกำจัดสียงรบกวนจากภายนอกได้อีกด้วย
1.2 การออกแบบให้มีช่องระบายอากาศตามธรรมชาติภายในอาคาร
การที่อาคารหรือบ้านมีการออกแบบให้มีการถ่ายเทหรือระบายอากาศตามธรรมชาตินั้นช่วยเพิ่มคุณภาพของอากาศภายในอาคารและช่วยลดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศภายในอาคารที่เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าอีกทั้ง ยังทำให้อากาศภายในอาคารดีขึ้นเนื่องจากมีอากาศถ่ายเทเสะดวก โดยการติดตั้งช่องระบายอากาศบนหน้างต่างหรือประตูที่อยู่ด้านที่มีทิศทางลมพัดผ่าน เพื่อเพิ่มช่องทางการระบายอากาศ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและไม่ต้องใช้พลังไฟฟ้าใดๆ จึงช่วยให้อาคารหรือบ้านนั้นประหยัดระยะยาว
1.3 อุปกรณ์ประหยัดน้ำ
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับเจ้าของบ้านที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆคือการประหยัดน้ำ แต่ก็น่าแปลกที่เรื่องนี้ถูกมองข้ามในอาคารหรืออาคารสาธารณะ การลงทุนในอุปกรณ์ประหยัดน้ำภายในห้องน้ำ หรือมีบ่อบำบัดน้ำเสียที่สามารถนำน้ำที่บำบัดแล้วมาใช้ได้ก็จะช่วยให้การประหยัดน้ำนั้นมีประสิทธิภาพในระยะยาวมากขึ้น และการติดตั้งเครื่องขจัดตะกรันที่มากับน้ำจะทำให้ท่อประปาหรือเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบน้ำทั้งหมดมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นและช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายมากขึ้น
1.4 เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน
ควรเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานในอาคารหรือบ้านและต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์นั้นๆอยู่เสมอว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน แม้กระทั่งลิฟท์ในบ้านหรืออาคารควรเลือกระบบที่ใช้งานได้อย่างยาวนานประหยัดไฟและค่าบำรุงรักษากว่าลิฟท์ระบบอื่น เช่น ลิฟท์ระบบสกรูของคาเลีย ที่มีระบบ Ecosilent ที่ช่วยประหยัดทั้งค่าไฟและค่าบำรุงรักษาในระยะยาว
ลิฟท์บ้าน รุ่น Kosmos K70
2.ตึกหรืออาคารแบบชีวภาพ
แม้ว่าตึกหรืออาคารแบบชีวภาพจะได้รับการชื่นชมและนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 1980 แต่ตัวชี้วัดนี้เป็นจุดสนใจมากยิ่งขึ้นเมื่อวันนี้มีสวนลอยฟ้าบนตึกหรืออาคารสูงเกิดขึ้นมากมายการออกแบบตึกทางชีวภาพแบบนี้ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่โดดเด่นที่สุดในสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน การออกแบบทางชีวภาพนี้ยังสามารถอธิบายได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่แนะนําวัสดุอินทรีย์รูปแบบและรูปร่างแสงธรรมชาติหรือความเขียวขจีในสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่างผู้คนและธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการออกแบบทางชีวภาพไม่เพียงแต่ดึงดูดสายตาเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในสภาพแวดล้อมในเมืองได้ดีมากๆอีกด้วย
การที่มีการผสมผสานการปลูกพืชหลากหลายชนิดภายในตึกหรืออาคารเป็นหนึ่งในหลักสำคัญของการออกแบบทางชีวภาพ การตกแต่งหลังคาสีเขียวรวมถึงผนังสีเขียวจากพืชที่ปลูกทั้งภายในและภายนอกอาคารไม่เพียงแต่ทําให้อาคารดูน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ยังช่วยลดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงการตกแต่งด้วยความเขียวขจีทั้งที่อาคารและสวนสาธารณะให้เข้ากับภูมิทัศน์ของเมืองจะทําให้เมืองของเรามีความยั่งยืนมากขึ้น ดอกไม้และพืชพรรณดึงดูดแมลงมาผสมเกสรและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองให้มีการขยายพืชพรรณตามธรรมชาติ ในขณะที่พื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นพื้นดินที่ไม่ได้ถูกปกคลุมด้วยยางมะตอยหรือคอนกรีตโดยปล่อยให้ดินดูดซึมน้ำฝนถูซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของน้ำท่วมได้เช่นกัน
การใช้ไม้ได้กลายเป็นแนวโน้มที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในการออกแบบทางชีวภาพในช่วงเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา ทุกวันนี้ไม้ถูกใช้เพื่อสร้างอาคารทุกขนาดและความนิยมเป็นอย่างมากไม่เพียงแต่จากคุณสมบัติของการใช้งานเท่านั้น ไม้ยังมีรอยน้ำหนักที่เบากว่าคอนกรีตหรือเหล็กมาก นอกจากนี้รูปลักษณ์และเนื้อสัมผัสตามธรรมชาติของไม้ยังดูเหมือนจะมีผลกระทบทางสรีรวิทยาและจิตใจที่ช่วยให้ผู้พักอาศัยหรือผ็ที่มองเห็นรู้สึกผ่อนคลายซึ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3. อาคารสีเขียวแบบ 3 มิติ
การสร้างแบบจําลองข้อมูลอาคาร (BIM) ทําให้สามารถสร้างอาคารทั้งหลังในรูปแบบ 3 มิติก่อนที่จะสร้างขึ้นจริง โมเดล 3 มิตินี้สามารถแชร์และใช้เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจุดหลัก โดยผู้เชี่ยวชาญทุกคนที่เกี่ยวข้องในโครงการอาคารซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดและการสูญหายและผิดเพี้ยนของของข้อมูล
การสร้างทุกอย่างในแบบ 3 มิติก่อนเริ่มสร้างอาคารจริงมีข้อดีแบบยั่งยืนมากมาย ดังนี้:
3.1 การจําลองตึกหรืออาคารแบบ 3D ก่อนก่อสร้างจริง
อนุญาตให้มีเครื่องมือวิเคราะห์และจําลองแบบขั้นสูงที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่มืออาชีพ สามารถลองใช้ระบบต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารและสภาพอากาศภายในอาคารก่อนที่จะถูกสร้างขึ้นจริง
3.2 การตรวจเช็คความไม่สอดคล้องกันของแต่ละจุด
Building Information Modeling (BIM) ยังทําให้สถาปนิกและวิศวกรสามารถศึกษาข้อดีและข้อเสียของ Solutions ที่หลากหลายและตรวจจับการทำงานที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างองค์ประกอบแบบ 3 มิติ ที่แตกต่างกันในระยะแรกเริ่มของโครงการ
3.3 ช่วยลดการสิ้นเปลือง
ช่วยเพิ่มการประสานงานระหว่างการวางแผนต้นทุนการออกแบบการก่อสร้างและการผลิต,Building Information Modeling (BIM) ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสร้างองค์ประกอบนอกสถานที่ได้แม่นยํายิ่งขึ้น ช่วยให้ไม่มีการสั่งซื้อมากเกินไปทำให้สิ้นเปลืองน้อยลง
ระบบ 3D ของ Kalea สามารถออกแบบรุ่นลิฟท์ได้หลากหลายรูปแบบ
4.เอกสารรับรองในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
บริษัทส่วนใหญ่ต้องการแสดงให้เห็นว่าบริษัทของตนเองระบบการทำงานที่รักษาสิ่งแวดล้อมความยั่งยืน แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะมีเอกสารรับรองในข้อนี้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามหนึ่งในแนวโน้มที่แข็งแกร่งที่สุดในสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนคือการต้องกําหนดให้ Suppliers ทั้งหมดที่อยู่ในโครงการอาคารสีเขียวต้องจัดเตรียมเอกสารด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองสําหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทตนเอง ซึ่งส่งผลให้ความต้องการของ Sustainable Products มีเพิ่มมากขึ้น และด้วยเอกสารที่ได้รับการรับรองทั่วโลก เช่น ใบรับรองผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (EDP)
EPD นําเสนอผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตลอดอายุการใช้งานตามระบบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รายงานของ EPD ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการทำการศึกษาวิจัยและได้รับการอนุมัติจากผู้ตรวจสอบอิสระ และการวิจัยจะดําเนินการและรวบรวมตามวิธีการและมาตรฐานสากลเช่นเดียวกัน สิ่งนี้จะทําให้สถาปนิกและเจ้าของอาคาร สามารถเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ของซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกันได้อย่างง่ายขึ้น
ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างสม่ำเสมอและความปลอดภัยก็กลายเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นในด้านอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมวิศวกรรมและการก่อสร้าง (AEC) ส่งผลให้ต้องมีเอกสารรับรองพิ่มขึ้นโดยคํานึงถึงความรับผิดชอบขององค์กร รายงานความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท Cibes Lift ครอบคลุมทุกแบรนด์ของบริษัท รวมถึงลิฟท์ Kalea Lifts และจัดทําขึ้นตามระดับสากล มาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ลิฟท์ รุ่น Klassic มีการประกาศผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม
5. โครงการอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์
พูดง่ายๆ ก็คือ อาคาร Net Zero หรืออาคารใช้พลังงานศูนย์ เป็นอาคารที่ใช้พลังงานในปริมาณเท่ากันกับปริมาณพลังงานหมุนเวียนที่อาคารสามารถผลิตได้เป็นประจําทุกปี ในด้านของการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็วความจําเป็นในการสร้างอาคารใหม่ปรับปรุงอาคารที่มีอยู่แล้วใหม่และขยายเมืองของเราก็มีการเพิ่มขึ้นเท่านั้น เพื่อสอดคล้องกันการขยายตัวของสังคมในปัจจุบัน หากเราต้องการให้โลกของเราอยู่รอดในอุตสาหกรรมการก่อสร้างจําเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงเรื่องการหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้มากขึ้น
The World Green Building Council (World GBC) เรียกร้องให้ภาคอาคารและการก่อสร้างดําเนินการเพื่อขจัดก๊าซคาร์บอนจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่ก่อขึ้นผ่าน การให้คำมั่นในการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยจัดการกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งมั่นตั้งใจจําเป็นต้องมีการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั่วทั้งห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เล็งความสำคัญในข้อนี้ รวมถึงวิธีใหม่ในการออกแบบ,ก่อสร้าง,การดําเนินงานและการแยกโครงสร้างอาคาร ซึ่งแน่นอนว่าการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารเป็นกุญแจสําคัญ แต่การหารูปแบบธุรกิจใหม่ที่ส่งเสริมการ Recycle และการ Reuse โดยการนำอาคารเดิมมาปรับปรุงใหม่และรวมถึงการนำวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่ก็ได้เช่นกัน
การปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงในด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้างไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้มีความเปลี่ยนแปลงขององค์กรระดับโลก เช่นมีความมุ่งมั่นของ World GBC จะช่วยอํานวยความสะดวกและเร่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสากรรมนี้มากขึ้น
คุณชอบลิฟท์ของเราที่เห็นในภาพมั้ย?
เราพร้อมและยินดีให้ความช่วยเหลือเสมอ!คุณสามารถ ติดต่อเรา เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับ Catalog ได้ฟรี!
หากคุณต้องการอ่านบทความแบบนี้เพิ่มเติมโปรดคลิ๊กที่นี่ พื้นที่บล็อกของเรา ยังมีบทความอื่นๆที่มีสาระ
และความรู้ที่น่าสนใจรอคุณอ่านอยู่